วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การวัดภาคปฏิบัติ

ระดับความเป็นจริงของการวัดภาคปฏิบัติ  แบ่งได้เป็น 4 ระดับ
1.  ระดับการรับรู้ (Cognition) เป็นการทดสอบว่าผู้เรียนมีความรู้ด้านวิธีการปฏิบัติมากน้อยเพียงใด ผู้เรียนยังไม่ได้ลงมือปฏิบัติจริง แบบทดสอบที่ใช้วัดภาคปฏิบัติระดับนี้ได้แก่
1.1  การทดสอบเชิงจำแนก (Identification test) เป็นการทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถในการจำแนกเครื่องมือหรือชิ้นส่วนเครื่องมือ เช่น จำแนกเครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติ
1.2  การทดสอบภาคปฏิบัติด้วยการแบบทดสอบข้อเขียน (Written test) เป็นการวัดความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีหรือความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติของผู้เรียน ซึ่งอาจจะใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ (Achievement test)
                   2.   ระดับการปฏิบัติจากสถานการณ์จำลอง (Simulated Performance) เป็นการทดสอบโดยกำหนดสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริง ทั้งนี้เนื่องจากข้อจำกัดบางประการเกี่ยวกับความปลอดภัย เวลา การจัดการและการลงทุน  เช่น การฝึกขับรถยนต์ในสถานที่ที่จัดให้
                   3.   ระดับการปฏิบัติงานจริงโดยใช้ตัวอย่างงาน (Work Sample)  เป็นการทดสอบโดยให้ผู้เรียนปฏิบัติงาน  งานนั้นจะเป็นตัวอย่างในการสอบวัดความสามารถในการปฏิบัติงาน เป็นการวัดที่มีสภาพใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด เช่น การขับรถยนต์ในสถานที่จริง  การพิมพ์จดหมายราชการ  เป็นต้น

ประเภทของการวัด
          การวัดภาคปฏิบัติสามารถสอบวัดได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับลักษณะของการปฏิบัติงาน ดังนี้
                   1.  การทดสอบเชิงจำแนก (Identification test) เป็นการวัดความสามารถ ของแต่ละบุคคลในการแยกแยะสิ่งต่าง ๆ เช่น เครื่องมือ วัสดุ สิ่งของ ปัญหา หน้าที่ หรือคุณภาพซึ่งอยู่ในงานหรือบริบทในการปฏิบัติงาน
                   2.  การทดสอบด้วยตัวอย่างงาน (Work sbaple test) เป็นการทดสอบภาคปฏิบัติที่ใกล้เคียงกับการปฏิบัติงานจริงมากที่สุด  โดยการกำหนดงานที่เป็นตัวแทนของความรู้ ความสามารถและทักษะที่สำคัญของวิชา หรือของเรื่องมาให้ผู้เรียนทดสอบ ซึ่งการประเมินผลสามารถประเมินได้ทั้งกระบวนการ ผลงานและกิจนิสัย 
                   3. การทดสอบโดยใช้สถานการณ์ (Simulation test) เป็นการทดสอบที่ให้ผู้สอบปฏิบัติงานที่ใกล้เคียงกับการปฏิบัติงานจริงขณะดำเนินงานมากที่สุด แต่เงื่อนไขอาจแตกต่างจากสถานการณ์จริงบ้างอาจะเป็นเพราะ อาจเกิดความผิดพลาดอย่างรุนแรง ความไม่ปลอดภัย เสียเวลา หรือเพื่อเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติจริงต่อไป เช่น การขับรถยนต์ในสนามจำลองที่มีเครื่องหมายจราจรและช่องต่าง ๆ  การทดสอบทางการแพทย์บางลักษณะ การฝึกนักบิน การฝึกการใช้เครื่องมือเครื่องจักรที่มีราคาแพง การฝึกการสอบสวนของตำรวจ การฝึกการตัดสินใจบางสถานการณ์ เป็นต้น
                   4. การทดสอบด้วยวิธีอื่น ๆ (Alternative test) ที่สามารถนำมาทดสอบภาคปฏิบัติ ได้แก่
                   4.1  การทดสอบปากเปล่าหรือการสัมภาษณ์  สามารถวัดภาคปฏิบัติได้เป็นบางส่วน เช่น ความรู้เกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติ การนำเสนอผลงานหรือโครงการ ทักษะการสื่อสาร ตรวจสอบทัศนคติ ค่านิยม เป็นต้น
                   4.2  การทดสอบโดยใช้ข้อเขียน  มีหลายชนิดทั้งแบบเลือกตอบ ให้เติมคำ ให้เขียนตอบสั้น ๆ หรือเขียนความเรียง รวมทั้งให้คำนวณโดยแสดงวิธีทำ เป็นต้น  มักจะประเมินด้านความรู้ ความสามารถ วิธีการทำงาน หรือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
                   4.3 การให้เขียนรายงาน  เป็นการประเมินความรู้ในเนื้อหาในแนวลึกเหมือนกับการประเมินโดยให้นำเสนอสิ่งที่เตรียมมา วิธีการนี้อาจใช้ประเมินทักษะการเขียนสื่อสาร ความสามารถในการเลือกและจัดระบบการนำเสนอความคิดตลอดทั้งวัสดุอุปกรณ์ในเรื่องที่ได้รับมอบหมายให้เตรียมรายงาน ทั้งนี้ผู้สอบต้องมีทักษะในการเขียน

เทคนิคการประเมินภาคปฏิบัติ
เทคนิคการสังเกตพฤติกรรมผู้เรียน
เพื่อให้การประเมินสามารถรู้ถึงวิธีการดำเนินชีวิตของผู้เรียน ครูจะต้องสังเกตพฤติกรรม
ผู้เรียนในขณะต่างๆ ให้ได้มากที่สุด ที่สำคัญคือขณะปฏิบัติกิจกรรม ซึ่งอย่างน้อยใน 1 ภาคเรียน
นักเรียน 1 คน จะต้องได้รับการสังเกตอย่างไม่รู้ตัว 3 ครั้ง และจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานประเด็นที่
ควรเน้นคือลักษณะนิสัย การวางแผน การสังเกตนั้น ครูจะต้องกำหนดว่าในสัปดาห์นั้นจะสังเกต
นักเรียนประมาณ 1 ใน 5 ของนักเรียนทั้งชั้น เพื่อว่าเมื่อครบ 5 สัปดาห์แล้ว นักเรียนคนนั้น
จะต้องได้รับการสังเกตอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นใน 1 ภาคเรียนหรือเมื่อครบ 15 สัปดาห์ นักเรียนทั้งชั้นก็
ได้รับการสังเกตและบันทึกจากครูครบทุกคน การบันทึกการสังเกตอาจใช้แบบฟอร์มที่มีประเด็นการ
สังเกตอย่างกว้างๆ ไม่เฉพาะเจาะจงมากนัก เปิดโอกาสให้ครูบันทึกข้อสังเกตที่น่าสนใจและมี
ประโยชน์ลงไปได้ด้วย
การสัมภาษณ์
อย่างน้อยใน 1 ภาคเรียน ครูควรจะเรียกนักเรียนมาคุยเป็นรายบุคคล หรืออาจราย
กลุ่มในกรณีที่มีนักเรียนจำนวนมาก แต่สำหรับนักเรียนบางคนครูควรเอาใจใส่เป็นพิเศษ ควรจะมี
การนัดหมาย ซึ่งการสัมภาษณ์นี้อาจพูดคุยถึงบรรยากาศในห้องเรียนทั่วๆ ไปไม่เจาะจงเฉพาะ
พฤติกรรมของนักเรียนคนนั้นเท่านั้น แต่ครูก็สามารถสังเกตความคิดเห็น พฤติกรรมของนักเรียนคน
นั้นได้เป็นอย่างดี การสัมภาษณ์จะช่วยให้ครูได้ข้อมูลเพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์และจะช่วยขัดเกลา
ความประพฤติกรรมและบุคลิกลักษณะของนักเรียนได้อีกด้วย
การบันทึกของผู้เรียน
ครูควรใช้การบันทึกเป็นสื่อในการเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ทั้งนี้
ครูผู้สอนควรฝึกการบันทึกโต้ตอบกับผู้เรียนอย่างสร้างสรรค์ จะได้รับประโยชน์จากการใช้เทคนิคนี้ใน
การเข้าถึงจิตใจของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี

2 ความคิดเห็น:

  1. ครูกับนักเรียนหนีไม่พ้นเรื่องการวัดจริงๆเลยนะคะ

    ตอบลบ
  2. ทุกโรงเรียนมีภาคปฏิบัติ ก็ต้องมีการวัดภาคปฏิบัติ

    ตอบลบ